ผู้เขียน หัวข้อ: กระชายพลัส: วิธีเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร  (อ่าน 72 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 418
  • รับโพสเว็บ รับจ้างโพส โปรโมทเว็บ รับจ้างโปรโมทเว็บ
    • ดูรายละเอียด
กระชายพลัส: วิธีเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
« เมื่อ: วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2024, 17:13:03 น. »
1.    เลือกผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากการตรวจสอบฉลากสินค้า ฉลากอย่างน้อยต้องมีข้อความตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 194) พ.ศ.2543 และ ฉบับที่ 252 (พ.ศ.2545) ตามสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ดังนี้

    ชื่ออาหาร Brand Name , Product Name
    ปริมาณสุทธิ Net Weight
    วันที่ผลิต MFG / MFD (Manufacturing date / Manufactured Date)
    วันที่หมดอายุ EXP / EXD (Expiry Date / Expiration Date)
    ควรบริโภคก่อนวันที่ BB / BBE (Best Before / Best Before End)
    ชื่อ-ที่ตั้งสถานที่ผลิต/นำเข้า ผลิตโดย…………….. Manufactured By………………
    สูตร ส่วนประกอบ Active Ingredients , Non Active Ingredients
    เลขสารบบอาหาร เครื่องหมายแสดงการได้รับอนุญาตประกอบด้วยเลข 13 หลัก ที่แสดงจังหวัดของสถานที่ผลิต สถานะของสถานที่ผลิตหน่วยงานผู้อนุญาต เลขที่สถานที่ผลิต/นำเข้า หน่วยงานที่ออกเลขสารบบอาหาร ลำดับที่ของอาหารของสถานประกอบการนั้นๆโดยแสดงไว้ที่ฉลากสินค้า
    สามารถนำเลข 13 หลักตรวจสอบได้ที่ https://oryor.com/check-product-serial


2. เลือกผลิตภัณฑ์จากสถานที่ผลิตที่ได้รับมาตรฐานสากล อย่างน้อยที่ต้องมีเพื่อเป็นมาตรฐานทางการผลิต ความปลอดภัย และตามบัญญัติศาสนาของผู้บริโภคด้วย ดังนี้


เลือกผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

    Good Manufacturing Practice (GMP) เป็นการรับรองการผลิตที่ได้มาตรฐานและความปลอดภัย
    Hazard Analysis and Critical Control Point (HACCP) การวิเคราะห์อันตรายจากผลิตภัณฑ์ที่มีต่อผู้บริโภค กำหนดมาตรการควบคุม และแก้ไขปัญหา ร่วมกับการใช้ผลการวิเคราะห์จากห้องปฏิบัติการ (Lab) เพื่อให้ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นในคุณภาพและความปลอดภัยอย่างสูงสุด
    Halal (ฮาลาล) “Halal Food” เครื่องหมายรับรองมาตรฐานสำหรับหรับประชากรมุสลิมต้องได้รับการรับรองและอนุญาตโดยคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย หรือคณะกรรมการประจำจังหวัด
    Codex เป็นองค์กรและมาตรฐาน เพื่อการคุ้มครองสุขภาพของผู้บริโภคและการดูแลให้เกิดความเท่าเทียมกันในด้านการค้า ภายใต้ความร่วมมือกับหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องอย่าง องค์การอาหารและเกษตร (Food and Agriculture Organization : FAO) และองค์การอนามัยโลก (World Health Organization : WHO)
    มาตรฐาน ISO 22000 มาตรฐานการจัดการความปลอดภัยของอาหาร Food Safety Management System: FSMS ระบบการจัดการความปลอดภัยของ อาหาร ครอบคลุมทั้งข้อกำหนดของ GMP, HACCP เน้นที่ผู้ประกอบการที่ต้องการพัฒนาการจัดการความปลอดภัยของอาหารให้มีความชัดเจน
    MST STANDARD ควบคุมและตรวจสอบ มาตรฐานคุณภาพผลิตภัณฑ์จากมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นสถาบันที่ได้รับการยอมรับและเชื่อถือได้


3. เลือกผลิตภัณฑ์จากส่วนผสม ส่วนประกอบ ปริมาณสารอาหาร เพื่อหลีกเลี่ยงอาการแพ้ และไม่ควรเลือกสารอาหารที่มีปริมาณมากเกินไปหรือมากกว่าปริมาณที่แนะนำต่อวัน เพราะอาจทำให้เกิดการสะสมเป็นเป็นอันตรายได้

4. เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีการวางจำหน่ายในสถานที่ได้รับอนุญาตการซื้อขายได้อย่างถูกต้อง มีหน้าร้านค้า หรือตามร้านขายยาชั้นนำ มีเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญแนะนำถึงประเภทที่ควรทานไม่ว่าจะเป็นวิตามินหรืออาหารเสริม เพื่อให้ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและเกิดผลดีต่อสุขภาพอย่างสูงสุด

5. เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ไม่อวดอ้างสรรพคุณเกินจริง ว่าสามารถแก้ปัญหาสุขภาพได้มากกว่าที่มีหลักฐานทางวิชาการสนับสนุนและอาจทำให้ผู้บริโภคหลงเชื่อ รับประทานหรืออาจทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้
วิธีเก็บรักษาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร


เลือกผลิตภัณฑ์อาหารเสริม

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในปัจจุบัน ผลิตออกมาหลากหลายรูปแบบ หลายขนาด แต่การจะเลือกซื้อยังไงให้ได้ปริมาณที่พอเหมาะและขนาดบรรจุเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย นอกจากหน่วยงานภาครัฐช่วยควบคุมและตรวจสอบ มาตรฐานการผลิตและความน่าเชื่อถือแบรนด์สินค้าเองแล้ว ยังมีคำแนะนำเพิ่มเติมที่เป็นประโยชน์ดังนี้

1.    แนะนำให้ซื้อในปริมาณที่พอดีกับระยะเวลาที่จำเป็นต้องรับประทานเพื่อเสริมสารอาหารนั้น หรือซื้อให้เพียงพอก่อนวันหมดอายุของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่กำลังตัดสินใจซื้อเพื่อลดปัญหาการรับประทานไม่ทัน เสื่อมคุณภาพ และได้รับประโยชน์น้อยลงหรือเป็นอันตรายได้

2.    ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารควรเก็บในที่ที่ไม่ถูกแสงแดด หรือร้อนจัด เช่น ริมหน้าต่าง ในรถยนต์ที่จอดกลางแจ้ง เนื่องจากวิตามินและแร่ธาตุบางชนิดไม่ทนต่อแสงแดดหรือความร้อนและอาจจะทำให้เสื่อมสภาพ

3.    วิตามินและแร่ธาตุ เมื่อถูกอากาศจากภายนอกอาจส่งผลทำให้วิตามินและแร่ธาตุเสื่อมสภาพได้ เมื่อเปิดฝารับประทานแล้วควรรีบปิดให้สนิท สำหรับผู้ที่ซื้อผลิตภัณฑ์มาในปริมาณมากในกระปุกใหญ่ๆ รับประทานไปเรื่อยๆ จำนวนเม็ดลดลงจะทำให้เกิดอากาศในกระปุกใหญ่มากกว่าในขนาดกระปุกเล็กๆ แนะนำให้เทแบ่งใส่ซองภาชนะบรรจุขนาดเล็กสีชา แล้วม้วนพันให้เล็กลงอีก เพื่อป้องกันการสัมผัสอากาศและแสงแดด

4.    ความชื้น มีผลให้วิตามินและแร่ธาตุเสื่อมสภาพเช่นกัน แต่หลายๆผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่จะบรรจุ “ซองกันชื้น” หรือ ซิลิกาเจล (silicon dioxide) สังเคราะห์มาจากโซเดียมซิลิเกต (Sodium silicate) มีลักษณะเม็ดเล็กๆสีใสคล้ายแก้ว คุณสมบัติพิเศษในการดูดซับความชื้นสูง 800 ตารางเมตรต่อซิลิกาเจล 1 กรัม ไม่แนะนำให้นำซองกันชื้นนี้ออกจากกระปุกผลิตภัณฑ์ เพื่อป้องกันความชื้นไม่ให้วิตามินและแร่ธาตุเสื่อมสภาพเร็ว

กล่าวโดยสรุป ผู้บริโภคควรพิจารณาคุณภาพของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเป็นเบื้องต้นก่อน เพื่อความปลอดภัยในการรับประทาน และควรศึกษาขนาดการรับประทานที่เหมาะสมจากฉลากผลิตภัณฑ์ แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ หรือจากเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญ และปฏิตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด เพื่อสุขภาพที่ดีและเห็นผลที่ดีที่สุด


กระชายพลัส: วิธีเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://mmed.com/products/