สวิตช์ไฟแบบติดผนัง (Switch) เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าพื้นฐานที่มีความสำคัญที่สุดชนิดหนึ่งของบ้าน เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ควบคุมวงจรไฟฟ้า ทำหน้าที่เปิด-ปิดกระแสไฟ สวิตช์มีหลายชนิดและดีไซน์ให้เลือกตามการใช้งานที่แตกต่างกัน บางประเภทจะระบุคุณลักษณะการทนกระแสไฟฟ้าและแรงดันไฟฟ้า สามารถติดตั้งและใช้งานง่าย มีการตอบสนองที่รวดเร็ว ทนความร้อนได้ดี
สวิตช์ (Switch) ทำงานอย่างไร
สวิตช์จะมีอุปกรณ์ภายในที่เรียกว่าหน้าสัมผัส ทำหน้าที่เปิดปิดวงจรไฟฟ้าคล้ายสะพานไฟ เมื่อกดเปิดสวิตช์ หน้าสัมผัสของสวิตช์จะเชื่อมต่อกันทำให้กระแสไฟฟ้าไหลในวงจร และเมื่อกดปิด หน้าสัมผัสจะไม่เชื่อมกัน กระแสไฟฟ้าจึงไม่สามารถไหลในวงจรได้
ประเภทของสวิตช์
สวิตช์มีหลายประเภทและมีรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป นอกจากใช้กับหลอดไฟแล้วยังใช้สำหรับเปิด-ปิดกระแสไฟฟ้ากับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ด้วย เช่น
สวิตช์ก้านโยก (Toggle) เช่น สำหรับพัดลม เครื่องปั๊มน้ำ และหลอดไฟ
สวิตช์แบบเลื่อน (Slider) เช่น สำหรับไฟฉาย ของเล่น
สวิตช์แบบปุ่มกด (Push-Button) เช่น สำหรับคอมพิวเตอร์ ทีวี วิทยุ
ซึ่งรูปแบบของสวิตช์ที่ต่างกันมักจะไม่ส่งผลต่อการทำงานและการเดินสายไฟฟ้า สำหรับสวิตช์ไฟบ้านชนิดที่พบได้บ่อยที่สุดคือแบบ สวิตช์กระดก (Rocker) นิยมใช้กับการเปิด-ปิดหลอดไฟ หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ และปลั๊กพ่วง ใช้งานโดยการกดเมื่อต้องการเปิดสวิตช์ก็ให้กดด้านที่ระบุว่าเป็นการเปิดสวิตช์ลง ส่วนอีกด้านที่เหลือก็จะกระดกขึ้น
ซีเมนส์ สวิตช์ ปลั๊ก
สวิตช์ยังสามารถแบ่งประเภทตามลักษณะการใช้งานได้เช่นกัน ได้แก่
สวิตช์ทางเดียว (Single-Pole Switch)
- ควบคุมวงจรไฟฟ้าสำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าเพียงชิ้นเดียว หรือวงจรเพียงส่วนใดส่วนหนึ่งเท่านั้น มีการใช้งานอย่างแพร่หลาย เพราะเป็นแบบพื้นฐานที่มีการติดตั้งและเดินกระแสไฟที่ง่ายกว่าแบบสองทาง รองรับการใช้งานแบบทั่วๆ ไป และราคาไม่แพง
สวิตช์ 3 ทาง (Three-way switch เรียกแบบทางฝั่งอเมริกา ซึ่งถ้าในอังกฤษจะเรียก Two-way switch หรือสวิตช์ 2 ทาง)
- หรือที่เราเรียกกันว่าสวิตช์บันได จะมี 3 Terminal สามารถควบคุมกระแสไฟฟ้าได้ 2 ทิศทาง ในการใช้งานจะใช้สวิตช์แยกกัน 2 ตัวสำหรับควบคุมไฟดวงเดียว ติดตั้งที่ปลายบันไดทั้งสองข้าง หรือในโรงรถหรือห้องใต้ดินที่มีทางเข้าออกสองทาง โถงทางเดินหรือที่อื่น ๆ
สวิตช์หรี่ไฟ (Dimmer Switch)
เป็นสวิตช์ที่สามารถปรับลดความสว่างของแสงได้ มักใช้ในห้องที่ต้องการแสงสลัว สวิตช์หรี่ไฟช่วยประหยัดพลังงานและยืดอายุการใช้งานของหลอดไฟ ไฟดิมเมอร์ไม่สามารถใช้งานกับหลอดฟลูออเรสเซนต์ได้ แต่ในปัจจุบันสามารถใช้ร่วมกับหลอด LED ได้แล้ว
การดูแลรักษาสวิตช์ไฟ
หลีกเลี่ยงความชื้นและน้ำเนื่องจากจะส่งต่อสภาพของสวิตช์โดยตรงและอาจทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้
ตรวจสอบการใช้งานเป็นประจำเพื่อป้องกันการเกิดปัญหาล่วงหน้า
ตำแหน่งติดตั้งควรอยู่ในระดับที่สูงพอประมาณเพื่อความสะดวกในการใช้งานและตรวจสอบการเปลี่ยนแปลง
พยายามหลีกเลี่ยงการติดตั้งต่ำจนเกินไป (ยกเว้นการใช้งานกับอุปกรณ์ไฟฟ้าบางชนิด)
สวิตช์ไฟที่ชำรุดควรเปลี่ยนทันทีเพราะอาจเป็นอันตรายต่อการใช้งานได้
ปิดสวิตช์เมื่อเลิกใช้เพื่อเป็นการพักช่วงการทำงานให้กับตัวสวิตช์
เลือกใช้สวิตช์ให้ตรงประเภทการใช้งาน เช่น หากกำลังไฟสูงก็ควรเลือกใช้สวิตช์ที่สามารถรองรับกำลังไฟแรงสูงได้
ขั้วต่อสวิตช์ต้องแน่น
เต้ารับ (Socket) หรือปลั๊กไฟ ทำหน้าที่เชื่อมต่อวงจรไฟฟ้า โดยที่เต้ารับจะมีรูสำหรับรองรับเต้าเสียบเพื่อให้กระแสไฟไหลเข้าหลอดไฟหรือเครื่องใช้ไฟฟ้า มักติดตั้งอยู่กับผนังอาคาร เต้ารับมีชนิด 2 ขา และ 3 ขา ซึ่งช่องที่เพิ่มมาจะต่อลงสายดินเพื่อเพิ่มความปลอดภัยมากยิ่งขึ้นในกรณีเกิดกระแสไฟฟ้ารั่ว
การเลือกเต้ารับ
เพื่อให้การใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ เป็นไปอย่างราบรื่นและปลอดภัย การเลือกเต้ารับที่ดีควรมีพิจารณาเบื้องต้นดังนี้ทำจาก
โลหะที่ไม่เกิดสนิมเพื่อประสิทธิภาพที่ดีใช้การใช้งาน
ทนความร้อน กันการลุกลามของไฟ
ฉนวนหุ้มต้องไม่กรอบและแตกง่าย
มีขนาดเหมาะสมกับปริมาณของกระแสไฟ
ได้มาตรฐานรับรอง
มีม่านนิรภัยกันนิ้วแหย่สำหรับบ้านที่มีเด็กเล็ก
ซ่อมบำรุงอาคาร: สวิตช์ไฟ เต้ารับ คืออะไร เลือกซื้ออย่างไร อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://snss.co.th/dt_post/technical-services/