ผู้เขียน หัวข้อ: ใครบ้างที่เสี่ยงเป็นโรคมะเร็ง?  (อ่าน 56 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 573
  • รับโพสเว็บ รับจ้างโพส โปรโมทเว็บ รับจ้างโปรโมทเว็บ
    • ดูรายละเอียด
ใครบ้างที่เสี่ยงเป็นโรคมะเร็ง?
« เมื่อ: วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2025, 22:47:20 น. »
ใครบ้างที่เสี่ยงเป็นโรคมะเร็ง?

แม้ว่ามะเร็งจะเป็นโรคที่บอกสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคที่แน่ชัดไม่ได้ แต่จากความรู้ทางการแพทย์ปัจจุบันพบว่ามะเร็งเป็นโรคที่เกิดจากปัจจัยหลาย ๆ อย่างรวม ๆ กัน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้คือปัจจัยที่กล่าวไปแล้วข้างต้น ดังนั้นผู้ที่มีปัจจัยที่เพิ่มโอกาสการเป็นมะเร็งจึงเป็นกลุ่มที่เสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งมากกว่าคนอื่น ๆ

ปัจจัยที่เพิ่มโอกาสการเกิดมะเร็งก็มีทั้งปัจจัยภายในร่างกายและปัจจัยจากสิ่งแวดล้อมภายนอก โดยปัจจัยภายในร่างกายบางอย่างเป็นสิ่งที่ควบคุมไม่ได้ เช่น อายุ พันธุกรรม ดังนั้นหากมีความเสี่ยงทางด้านร่างกายอยู่เดิมแล้ว ควรควบคุมและหลีกเลี่ยงปัจจัยสิ่งจากสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เช่น การเลือกรับประทานอาหารที่ไม่มีสารประกอบหรือมีสารก่อมะเร็ง ไม่ไปสัมผัสสารเคมีที่อันตรายต่าง ๆ ป้องกันการติดเชื้อที่เป็นปัจจัยเสี่ยงของมะเร็ง เป็นต้น ก็จะสามารถช่วยลดความเสี่ยงและลดโอกาสการเกิดมะเร็งลงได้


ระยะของโรคมะเร็ง

ระดับความรุนแรงของโรค ประเมินได้จากการลุกลาม และการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง โดยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ดังนี้

    ระยะที่ 1  ก้อนหรือแผลมะเร็งมีขนาดเล็ก ยังไม่ลุกลาม
    ระยะที่ 2  ก้อนหรือแผลมะเร็งมีขนาดใหญ่ขึ้น เริ่มลุกลามภายในเนื้อเยื่อหรืออวัยวะ
    ระยะที่ 3  ก้อนหรือแผลมะเร็งมีขนาดใหญ่ขึ้น เริ่มลุกลามไปยังเนื้อเยื่อหรืออวัยวะข้างเคียง และลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้อวัยวะที่เป็นมะเร็ง
    ระยะที่ 4   อาการรุนแรงมากขึ้น
        ก้อนหรือแผลมะเร็งมีขนาดใหญ่มาก
        ลุกลามไปยังเนื้อเยื่อหรืออวัยวะข้างเคียงจนทำให้มีแผลเลือดออก หรือเป็นแผลเปิดและ/หรือลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้อวัยวะที่เป็นมะเร็ง จนคลำพบต่อมน้ำเหลืองโต 
        มะเร็งแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือด และ/หรือกระแสน้ำเหลือง ไปยังเนื้อเยื่อหรืออวัยวะอื่น ๆ ที่อยู่ไกลออกไป เช่น ปอด ตับ สมอง กระดูก ไขกระดูก ต่อมหมวกไต หรือต่อมน้ำเหลือง


โรคมะเร็งติดต่อได้หรือไม่?

โรคมะเร็งเป็นโรคไม่ติดต่อ ดังนั้นการไปสัมผัส พูดคุย หรือรับประทานอาหารร่วมกับผู้ป่วยโรคมะเร็งจึงไม่ทำให้เป็นมะเร็งไปด้วย อย่างไรก็ตามมะเร็งบางชนิดมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ เช่น มะเร็งปากมดลูก ที่เกิดจากไวรัสเอชพีวี (HPV virus) มะเร็งตับที่มีสาเหตุจากไวรัสตับอักเสบ หรือมะเร็งกระเพราะอาหารที่มีปัจจัยเสี่ยงจากการติดเชื้อแบคทีเรีย H. pyrori เป็นต้น แม้ว่าการติดเชื้อต่าง ๆ เหล่านี้ไม่ได้ทำให้เป็นมะเร็งเสมอไปแต่จะเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งมากขึ้น ดังนั้น การป้องกันการติดเชื้อจึงนับได้ว่าเป็นการป้องกันมะเร็งได้อีกวิธีหนึ่ง


คัดกรองโรคมะเร็งอย่างไรได้บ้าง?

การตรวจคัดกรองมะเร็งเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม เพราะจะช่วยให้ตรวจพบมะเร็งได้ตั้งแต่ระยะแรก ๆ และจะทำให้การรักษาไม่ซับซ้อนและให้ผลการกรักษาที่ดี ซึ่งในปัจจุบันการตรวจคัดกรองมะเร็งมักจะอยู่ในโปรแกรมการตรวจสุขภาพ หรืออาจมีโปรแกรมตรวจสุขภาพเฉพาะโรคมะเร็งนั้น ๆ เพื่อการตรวจที่ละเอียดและแม่นยำมากขึ้น  ซึ่งการตรวจคัดกรองความเสี่ยงของโรคมะเร็งทำได้โดย

    การตรวจสารบ่งชี้มะเร็งตับ AFP
    การตรวจสารบ่งชี้มะเร็งลำไส้ CEA
    การตรวจสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก PSA
    การตรวจสารบ่งชี้มะเร็งเต้านม CA153
    การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ThinPrep Pap Test


การรักษาโรคมะเร็ง

การรักษาโรคมะเร็งจะขึ้นอยู่กับตำแหน่ง ระยะของโรคและความรุนแรงของโรค ซึ่งแพทย์อาจจำเป็นต้องใช้การรักษาหลายวิธีประกอบกันเพื่อผลการรักษาที่ดีที่สุด ความสำเร็จในการรักษามักจะขึ้นอยู่กับระยะของโรค หากวินิจฉัยและรักษาได้ตั้งแต่ระยะแรก ๆ ผลการรักษาจะดีกว่า การตรวจพบและรักษาที่ระยะรุนแรงแล้ว โดยวิธีการรักษาโรคมะเร็งโดยทั่วไป มีดังนี้

    การผ่าตัดนำก้อนมะเร็งออก
    การให้ยาเคมีบำบัด เพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง
    การใช้เทคโนโลยีรังสีรักษา เพื่อกำจัดเซลล์มะเร็ง
    การใช้ฮอร์โมนบำบัด เพื่อหยุดการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
    รักษาแบบผสมผสาน เป็นการรักษาร่วมกันหลายวิธี ขึ้นอยู่กับระยะและความรุนแรงของโรค


โรคมะเร็ง รักษาหายหรือไม่

มะเร็งเป็นโรคที่สามารถรักษาหายได้ อย่างไรก็ตามจะขึ้นอยู่กับปัจจัยดังนี้

    ระยะของโรค
    ชนิดของเซลล์มะเร็ง
    การผ่าตัดสามารถเอาก้อนมะเร็งออกได้หมดหรือไม่
    การตอบสนองของมะเร็งต่อการรักษาด้วยวิธีต่าง ๆ
    อายุและสุขภาพของผู้ป่วย

อย่างที่กล่าวไปข้างต้นการรักษาตั้งแต่ระยะแรกหรือรักษาตั้งแต่ยังไม่มีอาการจะให้ผลการรักษาที่ดีที่สุด ดังนั้น การตรวจสุขภาพ และการหมั่นสังเกตการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ของร่างกายจึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้ามเพราะจะสามารถทำให้ตรวจพบมะเร็งได้ตั้งแต่ระยะแรก ๆ


การป้องกันโรคมะเร็ง

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการป้องกันมะเร็งแบบจำเพาะเจาะจง วิธีที่ดีที่สุด คือ การดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ เช่น

    ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
    รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่เหมาะสม
    หลีกเลี่ยงปัจจัยก่อมะเร็งจากสิ่งแวดล้อมภายนอกร่างกาย เช่น สารเคมี รังสีต่าง ๆ
    หลีกเลี่ยงปัจจัยก่อมะเร็งจากสิ่งกระตุ้นภายในร่างกาย เช่น ความเครียด
    ตรวจสุขภาพประจำปีและการตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคมะเร็งเป็นประจำ

สรุป

มะเร็ง เป็นโรคที่ที่เกิดจากการเจริญโตที่ผิดปกติของเซลล์ร่างกายโดยเซลล์มะเร็งจะแบ่งตัวเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว จนมีขนาดใหญ่ และทำลายเนื้อเยื่อของอวัยวะนั้น ๆ จนการทำงานเสียไป ในระยะรุนแรงมะเร็งอาจลุกลามไปอวัยวะข้างเคียงหรืออวัยวะที่อยู่ไกลออกไป จะไปทำนั้นอวัยวะนั้น ๆ เสียการทำงานไปด้วย   

มะเร็งเป็นโรคที่มักจะไม่แสดงอาการในระยะแรก และมักจะเริ่มแสดงอาการให้เห็นเมื่อเข้าสู่ระยะที่รุนแรงมากขึ้นแล้ว ทำให้ผู้ป่วยหลายรายเข้ารับการรักษาช้าจนมะเร็งอยู่ในระยะที่รุนแรง และลุกลามไปอวัยวะอื่น ๆ แล้ว ดังนั้นการตรวจสุขภาพประจำปีและการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งแต่ละชนิดตามความเสี่ยงจึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญเพราะจะช่วยให้ตรวจพบและรักษาได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ซึ่งโอกาสหายขาดมีสูงกว่า

การรักษาสุขภาพและหลีกเลี่ยงปัจจัยก่อมะเร็งเป็นอีกทางหนึ่งที่สำคัญที่จะลดความเสี่ยง และแนวโน้มการเป็นมะเร็งลงได้ เพื่อให้สุขภาพเราแข็งแรง และห่างไกลจากโรคมะเร็ง