ผู้เขียน หัวข้อ: อาหารสายยาง สารอาหารที่ให้ทางสายยาง ทางหลอดเลือดดำ  (อ่าน 356 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 418
  • รับโพสเว็บ รับจ้างโพส โปรโมทเว็บ รับจ้างโปรโมทเว็บ
    • ดูรายละเอียด
หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า การให้อาหารทางสายยาง ซึ่งการให้อาหารทางสายยางนั้น เป็นการให้อาหารแก่ผู้ที่ไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้ อันเนื่องมาจากภาวการณ์เจ็บป่วยบริเวณลำคอ รวมไปถึงผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดบริเวณทางเดินอาหาร และไม่สามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ การให้อาหารทางสายยางหลายคนคงเคยเห็นแต่การให้อาหารทางสายยางผ่านทางรูจมูกหรือบริเวณหน้าท้อง


ซึ่งนอกจากนี้ยังมีการให้อาหารทางสายยางอีกรูปแบบหนึ่งนั่นก็คือ การให้อาหารทางสายยางทางหลอดเลือดดำ โดยจะใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถใช้การระบบย่อยอาหารได้ตามปกติ โดยประเภทของการให้โภชนาการบำบัดขึ้นอยู่กับสภาพอาการและความต้องการของผู้ป่วยแต่ละคน สำหรับการให้อาหารทางหลอดเลือดดำนั้น จะใช้วิธีการให้การอาหารผ่านทางหลอดเลือดดำใต้ผิวหนังโดยใช้เข็มหรือใช้สายสวนสอดเขาใต้ผิวหนัง พยายามให้ปลายสายสอดไปอยู่ในหลอดเลือดดำใหญ่ให้บริเวณใกล้ๆกับขั้วหัวใจเป็นวิธีที่แพทย์ในปัจจุบันใช้อยู่ เพราะเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ไม่ควรรับอาหารทางปากหรือทางกระเพาะลำไส้เลย ซึ่งได้แก่ผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ซึ่งอาจจะเป็นเพราะว่ามีการอุดตันเกิดขึ้นในทางเดินอาหาร หรือเป็นเพราะว่าผลข้างเคียงจากการผ่าตัด หรือมีความผิดปกติเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ดังนั้น แพทย์จึงให้งดอาหารทางปากเป็นการชั่วคราวระยะเวลาหนึ่ง ดังนั้นในระหว่างที่ผู้ป่วยเหล่านี้ ต้องงดอาหารหรือไม่ได้รับสารอาหาร ก็ถือว่าจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้อาหาทางหลอดเลือดแทนนั่นเอง

สำหรับวันนี้ทางเราจะมาพูดถึงสารอาหารที่ให้ทางสายยาง สำหรับผู้ป่วยที่ต้องให้อาหารทางหลอดเลือดดำ ในเรื่องของสารอาหารนั้นส่วนใหญ่ก็จะใช้เป็นสารอาหารหลักๆ ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต กรดอะมิโน ไขมัน ส่วนอาหารรองนั้นจะได้แก่ วิตามิน แร่ธาตุ อิเล็คโทรไลต์ สำหรับสารอาหารที่กล่าวมานั้น ก็จะขึ้นอยู่กับว่าร่างกายของผู้ป่วยต้องการสารอาหารชนิดใดเพื่อนำไปซ่อมแซมร่างกายในส่วนที่สึกหรอ และเพื่อทำให้ให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่จำเป็นและเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายด้วย อย่างไรก็ตาม การให้อาหารทางสายยาง ผ่านหลอดเลือดดำนั้น สามารถนำไปให้ผู้ป่วยที่พักรักษาตัวอยู่ที่บ้านได้ แต่ต้องมีการแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อน นอกจากนี้ ผู้ดูแลจะต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญเป็นอย่างมาก เพราะถ้าเกิดปัญหาอาจจะทำให้ผู้ป่วยได้รับอันตรายได้ และเป็นการป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆที่จะตามมาด้วย


อย่างไรก็ตาม การให้อาหารทางสายยาง ผ่านหลอดเลือดดำก็มีข้อดีหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น ช่วยแก้ไขภาวะไม่สมดุลของสารน้ำและอิเลคโทรไลต์ที่สูญเสียไปอย่างรวดเร็ว เช่น อุจจาระร่วง บาดแผลจากการเกิดไฟไหม้ การสูญเสียเลือดมากเป็นต้น และยังช่วยดูแลป้องกันภาวะไม่สมดุลของสารน้ำและอิเล็คโทรไลต์ เช่น ผู้ป่วยงดน้ำและอาหารทางปากก่อนหรือหลังการผ่าตัด หรือ หรือผู้ป่วยอาจจะมีภาวะเบื่ออาหาร รับประทานอาหารไม่ได้ มีอาการคลื่นไส้ และข้อดีอีกอย่างหนึ่งก็คือ การให้อาหารทางสายยางผ่านหลอดเลือดดำนั้น ยังช่วยให้ยาบางชนิดที่ไม่สามารถดูดซึมเข้าสู่ระบบทางเดินของอาหารได้ สามารถดูดซึมได้ดีมากขึ้น หรือบางกรณีการรับประทานอาหารทางปากแล้วเกิดการถูกทำลาย โดยน้ำย่อยจากกระเพราะอาหาร ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถรับสารอาหารได้ตามปกติ และที่สำคัญที่สุดก็คือ เพื่อช่วยรักษาภาวะสมดุลของความเป็นกรด – ด่างในร่างกายของเราให้เป็นปกติ

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าการให้อาหารทางสายยาง โดยผ่านหลอดเลือดดำ จะเป็นวิธีการหนึ่งของการรักษาทางการแพทย์ แต่ก็ยังต้องระมัดระวังให้มากเป็นพิเศษ เพราะการให้อาหารทางสายยางผ่านหลอดเลือดดำ อาจจะเกิดผลข้างเคียงได้เช่นเดียวกัน ดังนั้น ควรจะอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ และกระทำโดยผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ สามารถแก้ไขปัญหาได้ทันเวลา เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารอย่างปลอดภัยและถูกต้องมากที่สุด อยากให้ทุกคนมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง สามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ เพื่อที่จะได้มีโภชนาการอาหารที่ดี ได้รับสารอาหารด้วยวิธีการปกติ หลีกเลี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อน และอันตรายจากการได้รับสารอาหารทางสายยาง เพื่อให้ทุกคนได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ

 

อาหารสายยาง สารอาหารที่ให้ทางสายยาง ทางหลอดเลือดดำ อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://snss.co.th/อาหารทางสายยาง/