ผู้เขียน หัวข้อ: การพัฒนาเทคโนโลยี AI & Ecosystem ในประเทศไทย และการใช้เทคโนโลยี AI  (อ่าน 325 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 418
  • รับโพสเว็บ รับจ้างโพส โปรโมทเว็บ รับจ้างโปรโมทเว็บ
    • ดูรายละเอียด
การแข่งขันของประเทศมหาอำนาจ ซึ่งได้แก่ สหรัฐอเมริกา , จีน และสหภาพยุโรป ในการก้าวขึ้นเป็นผู้นำทางเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence; AI) และแผนยุทธศาสตร์ AI2030 ของประเทศจีนในการแซงคู่แข่ง อาทิเช่น สหรัฐฯ เพื่อขึ้นนำเป็นจ้าวแห่งยุทธจักร AI หรือ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ในความเป็นจริง ไม่เพียงแต่ ประเทศมหาอำนาจที่กล่าวไปแล้วข้างต้น ที่ได้มุ่งเน้นการพัฒนาเทคโนโลยี AI เนื่องจาก AI ถือเป็นเทคโนโลยีที่สร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นกับสังคมในทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาคของธุรกิจ อุตสาหกรรม หน่วยงานรัฐ และความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันของคนในสังคม เพราะ AI ถือเป็นเทคโนโลยีที่มีความสามารถคล้ายกับสมองของมนุษย์ ที่สามารถเลียนแบบความสามารถของมนุษย์ที่ซับซ้อนได้ เช่น จดจำ แยกแยะ ให้เหตุผล ตัดสินใจ คาดการณ์ สื่อสารกับมนุษย์ ในบางกรณีอาจไปถึงขั้นเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง จึงทำหน้าที่แทนคน และ/หรือทำงานร่วมกับคน ได้ดีและมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ในระยะเวลาที่สั้น ซึ่งขั้นอยู่กับเนื้องานนั้นๆ ดังจะเห็นได้จากภาพด้านล่างที่แสดงถึงตัวอย่างการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี AI ในภาคธุรกิจ ในต่างอุตสาหกรรม


ดังนั้น ประเทศที่พัฒนาเทคโนโลยี AI ได้อย่างรวดเร็ว และสามารถประยุกต์ใช้ในบริบทที่หลากหลาย จะสร้างความได้เปรียบในหลายมิติ และเพิ่มขีดสามารถด้านการแข่งขันของประเทศ อาทิเช่น การลดต้นทุน และค่าใช้จ่าย, การยกระดับคุณภาพชีวิต, ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เพิ่มศักยภาพด้านผลผลิต เป็นต้น ดังคำกล่าวของ วลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย ที่กล่าวไว้ว่า “ผู้ที่ครอบครององค์ความรู้ด้าน AI ได้จะเป็นผู้ที่ครองโลก” ซึ่งสอดคล้องกับการที่ประเทศมหาอำนาจหลาย ๆ ประเทศ ได้มีนโยบายการพัฒนา AI ของประเทศ เช่น

    รัฐบาลประเทศจีน มีแผนยุทธศาสตร์ ผลักดันประเทศจีนไปสู่การเป็นผู้นำด้าน AI ภายในปี 2030 โดยได้ทำความร่วมมือกับ Giant Tech Companies เช่น Tencent, Baidu, Alibaba, Huawei เป็นต้น ในการพัฒนาเทคโนโลยี AI ดังที่กล่าวไว้ในบทความที่แล้ว
    รัฐบาลประเทศญี่ปุ่น ได้มีการออกนโยบายสังคม 5.0 ของญี่ปุ่น เป็นการนำระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ หรือ Big Data มาใช้ร่วมกับหุ่นยนต์ พร้อมทั้งเชื่อมโยงระบบเข้ากับ IoT ซึ่งจะเป็นการทำให้กิจวัตรประจำวันของคนญี่ปุ่น ตลอดจนบริษัทห้างร้านต่าง ๆ มีความสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น


หลายๆคนอาจสงสัยว่า แล้วประเทศไทยให้ความสำคัญกับการพัฒนาเทคโนโลยี และทรัพยากรมนุษย์ในด้าน AI หรือไม่? มีแผนยุทธศาสตร์ หรือแม่บทอย่างไร? และองค์กรในไทยมีการนำ AI มาในองค์กรอย่างไร?


แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา AI และ Ecosystem ในประเทศไทย

วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2564 คณะทำงานจัดทำแผนแม่บทปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไทย เริ่มเดินหน้าจัดทำแผนแม่บทปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติ เพื่อการพัฒนาประเทศไทย โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และนางสาวอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ประธานคณะทำงานร่วมฯ เป็นประธานการประชุมที่จัดขึ้น

โดยคณะทำงานฯ ได้ตั้งเป้าวิสัยทัศน์สำคัญร่วมกันไว้ว่า “ประเทศไทยจะเป็นประเทศชั้นนำในการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนภายในปี พ.ศ.2570” โดยร่างแผนแม่บทปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติฯ และร่างแผนงานและเป้าหมายสำคัญภายใต้แผนแม่บทฯ มีรายละเอียดดังรูปด้านล่าง


การพัฒนา AI ในประเทศไทย

สำหรับการพัฒนาเทคโนโลยี AI ในประเทศไทยนั้น พบว่า ได้มีการวิจัย พัฒนา และนำ AI มาประยุกต์ใช้เป็นเวลากว่าสิบปีแล้ว ผ่านการวิจัยพัฒนาองค์กรภาครัฐ, ภาคเอกชน, และความร่วมมือกับบริษัท AI ในประเทศไทย และต่างประเทศ ซึ่งการพัฒนา AI ในประเทศไทย นับว่ามีสัญญาณที่ดี จากการการสนับสนุนของรัฐที่สร้าง AI Infrastructure (ดังแสดงในภาพด้านล่าง) และ Ecosystem ในประเทศไทย ซึ่ง AI ถูกประยุกต์ใช้ในองค์กรเอกชนชั้นนำ (โดยส่วนใหญ่จะเป็นการทำ Open Innovation เพื่อนำเทคโนโลยี AI จากต่างประเทศมาใช้ในองค์กร) โดยในเดือนกันยายน 2563 มีการลงนามความร่วมมือด้านปัญญาประดิษฐ์ถึง 3 ด้าน ได้แก่ พิธีลงนามกฎบัตรภาคีปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย (Thai AI Consortium), พิธีเปิดโครงการ Super AI Engineer และพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการจัดการองค์ความรู้ดิจิทัลการรับรองและพัฒนาทักษะด้านปัญญาประดิษฐ์ของประเทศ (AI Academy Alliance) และปี 2564 ที่ได้มีการร่างแผนยุทธศาสตร์ AI ดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น


ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ด้วยประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นของเทคโนโลยี และโครงสร้างปัจจัยพื้นฐานต่างๆ เช่น 5G, Smart Phone เป็นต้น ทำให้เกิดการกระตุ้นการพัฒนาและใช้ AI แบบก้าวกระโดด ในบริษัทเอกชนชั้นนำหลายบริษัทฯ อาทิเช่น:


ด้านการเงินและธนาคาร

ธนาคารหลายแห่งได้มีการนำเอาระบบ AI เข้ามาเป็น Back-end operational infrastructure เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้า เช่น

    กลุ่มบริษัท SCB Abacus ได้ใช้ระบบ AI ในการสร้างแอพพลิเคชั่น SCB Easy รวมถึงได้ใช้ AI พัฒนาสินเชื่อแม่มณีศรีออนไลน์ ซึ่งถือเป็นผู้ให้บริการสินเชื่อออนไลน์กลุ่มลูกค้า SME ที่อยู่ใน LAZADA
    KBTG ที่มี KADE เป็น AI ทำงานเบื้องหลังในแอป K PLUS นอกจากนี้ หลายธนาคารยังนำ AI มาเป็นผู้ช่วยให้กับลูกค้า เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน เพื่อวิเคราะห์การออม การลงทุน ให้เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละบุคคล เป็นต้น


ด้าน Logistics & Supply Chain

ปัจจุบันสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานในอุตสาหกรรม Logistic & Supply Chain  ได้แบบ End-to-End ตัวอย่างเช่น การต่อยอดประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experiences) ผ่านการสนทนา นอกจากนี้สามารถนำ AI เข้ามาเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินงานตั้งแต่ส่วนของระบบหลังบ้าน งาน Operation และการให้บริการลูกค้า ด้วยความสามารถด้านการคาดเดาเหตุการณ์ และคาดเดาพฤติกรรมที่ได้ข้อมูลเชิงลึกมากกว่าและเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่า เพื่อวางแผนจัดซื้อวัตถุดิบ การผลิต ตลอดจนจัดส่งสินค้าล่วงหน้าก่อนที่ลูกค้าจะสั่งซื้อ ตัวอย่างการใช้งาน AI ได้แก่ ใช้ AI จดจำสินค้าจากรูปภาพและรูปแบบ พร้อมกับดำเนินการย้ายสินค้าใน Store อัตโนมัติได้ และสามารถคาดการณ์ข้อมูลที่จำเป็นได้รวดเร็ว เช่น ความผันผวนของปริมาณการจัดส่งสินค้าทั่วโลกล่วงหน้าก่อน จากข้อมูลหลายส่วนที่ได้รับมาประกอบกัน



ภาครัฐ

ในปัจจุบัน ภาครัฐมีการนำ AI มาใช้ในการบริหารจัดการระบบงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และใช้ในการวิเคราะห์แทนกิจกรรมที่ใช้ทรัพยากรมนุษย์  เช่น กรมสรรพากรที่พัฒนา AI มาวิเคราะห์การยื่นภาษีของประชาชน เช่น กรมสรรพากรได้มีการนำเอา AI มาวิเคราะห์เกี่ยวกับงานด้านภาษี ทั้งยังมีแผนในการพัฒนาใช้งานด้านการศึกษาและด้านอื่นๆ


ด้านอสังหาริมทรัพย์

AI สามารถเข้ามาช่วยในงานก่อสร้าง แบบ End-to-End solutions  เช่น การวิเคราะห์ วางแผน สำรวจโครงสร้างต่างๆ ก่อนก่อสร้าง เพื่อให้สามารถก่อสร้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประหยัดต้นทุน รวมไปถึงติดตามสถานะระหว่างก่อสร้าง และหลังก่อสร้าง เพื่อให้บริการลูกค้า ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และตรงตามความต้องการของลูกค้า


ด้านสุขภาพ

การพัฒนา AI มาช่วยวินิจฉัยโรคกันบ้างแล้ว ยกตัวอย่างเช่น

    ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ นำ IBM Watson เทคโนโลยี AI เข้ามาช่วยวิเคราะห์การรักษาโรคมะเร็ง ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะมีการนำ AI มาวินิจฉัยโรคอื่นๆ


นวัตกรรม AI IBM WATSON การรักษาโรคมะเร็ง

    ศิริราชที่ตั้งเป้าเป็นผู้นำ AI Center ทางการแพทย์ เช่น ร่วมมือกับฟูจิฟิล์ม (ประเทศไทย) และบริษัท Lunit Inc. พร้อมด้วยบริษัท เจ.เอฟ.แอดวาน เมด จำกัด ในการพัฒนาเทคโนโลยี AI ปัญญาประดิษฐ์ เพื่อรังสีวินิจฉัยกับเครื่องมือแพทย์ ช่วยทีมแพทย์วินิจฉัยรอยโรคได้อย่างแม่นยำ พร้อมกับประเมินคัดกรองผู้ป่วย ลดขั้นตอนการทำงานของแพทย์, และร่วมมือกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ ประเทศไทย (จำกัด) ส่งมอบโซลูชันผู้ช่วย AI CT Chest COVID-19  เพื่อประมวลผลและวิเคราะห์รายงานผลผู้ติดเชื้อCOVID-19

Lunit INSIGHT CXR detecting COVID-19 pneumonia in chest x-ray images (left) & HUAWEI AI CT Chest COVID-19 (right)




การพัฒนาเทคโนโลยี AI & Ecosystem ในประเทศไทย และการใช้เทคโนโลยี AI  อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://techwealth99.com/