ผู้เขียน หัวข้อ: ฉนวนกันเสียง: ใครก็ทำห้องเก็บเสียงที่บ้านได้ ด้วยการใช้แผ่นกันเสียง  (อ่าน 359 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 418
  • รับโพสเว็บ รับจ้างโพส โปรโมทเว็บ รับจ้างโปรโมทเว็บ
    • ดูรายละเอียด
ห้องเก็บเสียง จริง ๆ แล้วไม่ได้จำเป็นต้องหมายถึงห้องอัดเสียง หรือสตูดิโอสำหรับใช้ทำงานด้านเสียงที่ต้องการความเงียบเสมอไป แต่เราสามารถทำให้ห้องนอน ห้องรับแขก ห้องทำคอนโดของเรามีคุณสมบัติเดียวกันกับ ห้องเก็บเสียง ได้

ซึ่งก็คือ เก็บเสียงด้านในไม่ให้ทะลุออกไปรบกวนภายนอก รวมถึงป้องกันไม่ให้เสียงข้างนอกดังทะลุเข้ามารบกวนเราด้วย โดยหัวใจสำคัญของการทำ ห้องเก็บเสียง นั้นก็คือการใช้ แผ่นกันเสียง เสริมเข้ากับโครงสร้างผนังห้องเดิมให้มีคุณสมบัติในการกันและเก็บเสียงได้มากขึ้นนั่นเอง


แผ่นกันเสียงคืออะไร ทำไมจึงสำคัญกับการทำห้องเก็บเสียง?

แผ่นกันเสียง หรือหลาย ๆ คนก็เรียกกันว่าผนังกันเสียง จริง ๆ แล้วไม่ใช่ผนัง แต่เป็นวัสดุชนิดหนึ่งซึ่งมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า “วัสดุอะคูสติก” ผลิตขึ้นมาจากฉนวนที่มีคุณสมบัติในการป้องกันเสียงดัง เช่น วัสดุอะคูสติกที่เป็นฉนวนใยแก้วแผ่นแข็งสีเทา หุ้มรอบด้านด้วยวัสดุกันความชื้น ใส่สารไม่อุ้มน้ำในเนื้อฉนวน จึงทำให้สามารถคงคุณสมบัติการเป็นฉนวนไว้ได้อย่างยาวนาน

โดยวิธีการใช้งานแผ่นกันเสียงที่ว่านี้ จะไม่ใช่การนำไปติดกับผนังโดยตรง แต่จะเป็นการเสริมเข้าไปเป็นผนังอีกชั้นหนึ่งแทน กล่าวคือ จะต้องมีการตีโครงคร่าวขึ้นเพิ่มจากผนังเดิม นำวัสดุอะคูสติกไปวางซ้อน แล้วปิดผิวด้วยผนังสมาร์ทบอร์ดอีกชั้น จึงถือเป็นอันเสร็จสิ้น ซึ่งหลังจากการเสริมแผ่นกันเสียงเข้าไป จึงทำให้ผนังห้องเดิมมีความหนามากขึ้น มีคุณสมบัติในการป้องกันเสียงเข้าออกได้ดีขึ้น จนทำให้ห้อง ๆ นั้นกลายเป็นห้องเก็บเสียงได้ในที่สุดนั่นเอง



เมื่อไรที่เราควรตัดสินใจ ทำห้องเก็บเสียง?

ปัญหาเสียงดังเป็นสิ่งที่ใครหลาย ๆ คนอาจรู้สึกว่า “ฉันทนได้” แต่ในความเป็นจริง ก็มีขีดจำกัดในตัวเองอยู่ เพราะหากเราปล่อยให้บ้าน หรือห้องคอนโดที่อยู่อาศัยถูกรบกวนด้วยเสียงดังตลอดเวลา จนรบกวนการนอนหลับ ทำงานที่บ้านไม่มีสมาธิ รู้สึกหงุดหงิดบ่อย พักผ่อนในบ้านไม่ได้ ฯลฯ สัญญาณเหล่านี้บ่งบอกแล้วว่าชีวิตเรากำลังมีปัญหากับเสียงรบกวนที่ควรได้รับการแก้ไข

ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นเสียงก่อสร้างจากรอบ ๆ บ้าน เสียงรถยนต์บนถนน เสียงเพื่อนบ้าน เพื่อนข้างห้องปาร์ตี้รบกวน ฯลฯ ไม่ว่าจะเป็นเสียงดังแบบไหน ถ้าระดับความดังนั้นทำให้เรารู้สึกไม่สบายใจ การวางแผนทำห้องเก็บเสียงคือทางออกที่ตอบโจทย์ที่สุด ที่จะช่วยคืนความสุขในการอยู่อาศัยให้กลับคืนมาได้


สิ่งสำคัญที่ต้องรู้ ก่อนตัดสินใจทำห้องเก็บเสียง

แม้ห้องทุกห้องจะสามารถเสริมแผ่นกันเสียง เพิ่มคุณสมบัติของผนังห้องให้กลายเป็นห้องเก็บเสียงได้ แต่ก็มีสิ่งสำคัญที่ต้องทราบไว้เบื้องต้นก่อน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาภายหลัง ดังต่อไปนี้

1.    การติดตั้งแผ่นกันเสียงสำหรับการทำห้องเก็บเสียง ควรดำเนินการด้วยผู้เชี่ยวชาญโดยตรง เพราะจะต้องมีการวางแผนและวัดค่าเสียง เพื่อคำนวณตำแหน่งในการติดตั้งให้เหมาะสม พร้อมทั้งยังต้องคำนวณปริมาณการใช้งานแผ่นกันเสียงให้เพียงพอต่อการป้องกันและเก็บเสียงให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย

2.    เสียงดังที่ทะลุจากภายในห้องออกไปภายนอก และเสียงดังจากภายนอกที่ทะลุผ่านเข้ามาสร้างความรบกวนในห้องนั้น ไม่ได้ทะลุผ่านมาได้เพียงแค่ทางผนังห้องอย่างเดียว แต่ยังสามารถทะลุผ่านเข้ามาได้ทางช่องประตู หน้าต่าง รูปลั๊กไฟ ฝ้าเพดาน ฯลฯ ได้อีกด้วย ดังนั้น การเสริมแผ่นกันเสียงอย่างเดียว จึงอาจไม่เพียงพอให้กันเสียงเก็บเสียงได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด แต่จำเป็นจะต้องดูปัจจัยที่เป็นช่องทางการทะลุเข้าออกของเสียงด้วย เพื่อให้แก้ไขพร้อมกันในคราวเดียว จึงเป็นเหตุให้การใช้บริการผู้เชี่ยวชาญด้านเสียงเป็นสิ่งที่เหมาะสมที่สุด

3.    วัสดุอะคูสติกที่ใช้สำหรับทำห้องเก็บเสียงนั้น คือ แผ่นกันเสียง หรือ ผนังกันเสียง ไม่ใช่ แผ่นซับเสียง เพราะแผ่นซับเสียงจะเป็นวัสดุอะคูสติกอีกชนิดหนึ่งที่มีคุณสมบัติแตกต่างกัน คือ เด่นในเรื่องการป้องกันเสียงก้องเสียงสะท้อน ดังนั้น หากวางแผนจะทำห้องเก็บเสียงด้วยตัวเอง โดยไม่ได้ใช้บริการจากผู้เชี่ยวชาญโดยตรง ต้องระมัดระวังเลือกใช้วัสดุอะคูสติกให้ถูกต้อง เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ตั้งใจ


ห้องเก็บเสียงในมุมของที่อยู่อาศัยนั้น ไม่จำเป็นต้องทำทุกห้องก็ได้ เพียงแค่เลือกห้องสำคัญที่ต้องการความสงบที่สุดในบ้าน อย่างเช่นห้องนอน ห้องทำงาน หรือว่า ห้องดูหนัง แล้วเสริมแผ่นกันเสียงให้ผนังห้องนั้น ๆ มีคุณสมบัติในการป้องกันและเก็บเสียงได้ดีขึ้น เพียงทำนี้ก็จะทำให้การใช้งานในห้องนั้นของเราเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ปราศจากเสียงดังรบกวนจากภายนอก และไม่สร้างความรบกวนใจให้กับคนอื่นเช่นกัน เพราะห้องจะเก็บเสียงของเราเอาไว้ไม่ให้เล็ดลอดออกไป


ฉนวนกันเสียง: ใครก็ทำห้องเก็บเสียงที่บ้านได้ ด้วยการใช้แผ่นกันเสียง อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://noisecontrol365.com/